จัดฟันในเด็ก

การจัดฟันในเด็กเป็นกระบวนการที่ช่วยปรับตำแหน่งของฟันและขากรรไกรให้เหมาะสม เพื่อให้เด็กมีสภาวะช่องปากที่ดีขึ้น ทั้งในด้านการเคี้ยว การพูด และการเรียงตัวของฟันที่สวยขึ้น อันส่งผลต่อความมั่นใจ เสริมสร้าง self esteem ให้กับเด็กได้มากขึ้น โดยทั่วไปการจัดฟันในเด็กสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะหลัก ๆ ดังนี้:


🔹 ระยะที่ 1: จัดฟันแบบป้องกัน หรือจัดฟันในระยะเจริญเติบโต (Early/Interceptive Orthodontic Treatment)

 • อายุ: ประมาณ 6–10 ปี (ช่วงที่เด็กมีฟันน้ำนมและฟันแท้ขึ้นผสมกันและอยู่ในช่วงการเจริญ้ติบโต)

 • วัตถุประสงค์: 

       >ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการสบฟันผิดปกติในระยะแรก

       >ควบคุมการเจริญเติบโตของขากรรไกร ให้เป็นไปในแนวที่ถูกต้อง คือให้ทั้งขากรรไกรบนและล่างสามารถขยายขนาดได้โดยไม่มีสิ่งขัดขวางต่อการขยายขนาด

       >รักษาพื้นที่สำหรับฟันแท้ที่จะขึ้นในอนาคต


🔹 ระยะที่ 2: จัดฟันเมื่อฟันแท้ขึ้นครบ (Comprehensive Treatment)

 • อายุ: ประมาณ 11–13 ปี ขึ้นไป (ช่วงที่ฟันแท้ขึ้นครบแล้ว และเป็นช่วงปลายของการเจริญเติบโต)

 • วัตถุประสงค์:

    >แก้ไขตำแหน่งของฟันให้เรียงตัวอย่างเหมาะสม

    >ปรับการสบฟันให้ถูกต้อง

 

💎ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบจัดฟันในเด็กปัญหาบางอย่างในเด็ก ควรได้รับการจัดฟันโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารุนแรงในอนาคต หรือเพื่อให้การเจริญเติบโตของขากรรไกรและฟันเป็นไปอย่างเหมาะสม ทั้งหมดนี้ถือเป็น“ภาวะเร่งด่วนในการจัดฟัน” ที่ไม่ควรรอจนฟันแท้ขึ้นครบ เช่น


1. ฟันล่างคร่อมฟันบน (Crossbite) ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง

 • เกิดจากขากรรไกรบนแคบกว่าขากรรไกรล่าง ซึ่งโดยปกติขากรรไกรบนต้องมีขนาดที่ใหญ่กว่าขากรรไกรล่างในทุกทิศทาง

 • ปัญหานี้อาจทำให้เด็กใช้ขากรรไกรข้างเดียวในการเคี้ยว ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการเบี้ยวของใบหน้าเมื่อโตขึ้น

 • หากแก้ไขเร็ว จะช่วยให้ขากรรไกรบนไม่ถูกขัดขวางการเจริญเติบโต และป้องกันไม่ให้ขากรรไกรล่างเจริญยื่นยาวเกินไป ซึ่งจะทำให้เด็กมีรูปร่างใบหน้าที่สวยและสมดุลภายหลังการแก้ไข


2. ฟันยื่นมากผิดปกติ (Protrusion)

 • ฟันหน้าบนยื่นออกมามากกว่าปกติ เสี่ยงต่อการกระแทกหรือหักหากเกิดอุบัติเหตุ

 • การจัดฟันแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงและปรับสัดส่วนใบหน้า


3. ฟันสบลึก (Deep bite)

 • ฟันหน้าบนครอบฟันหน้าล่างมากเกินไป อาจกัดโดนเหงือกล่าง หรือฟันล่างทำร้ายเพดานปาก ทำให้เด็กมักบ่นปวดเหงือก หรือมีเหงือกเป็นรอยช้ำบริเวณเหงือกด้านเพดานของฟันหน้าบน


5. นิสัยผิดปกติที่ส่งผลต่อฟัน

 • เช่น การดูดนิ้วนานเกินไป ลิ้นดุนฟัน หายใจทางปาก ซึ่งส่งผลต่อรูปร่างขากรรไกรอย่างชัดเจน คือ ขากรรไกรบนแคบ ฟันยื่น หรือฟันสบไม่สนิท 


6. ฟันแท้ไม่มีที่ขึ้น (Tooth Impaction / Crowding)

 • ฟันแท้ไม่มีที่ขึ้น เพราะการถอนฟันน้ำนมที่เร็วเกินไปอันมีสาเหตุมาจากฟันผุและไม่ได้ใส่เครื่องมือกันข่องว่าง หรือพื้นที่ในปากไม่พอจากกรรมพันธุ์



✅ ทำไมต้องจัดฟันเร็วในกรณีเหล่านี้?

 • ปรับแนวการเจริญเติบโตของขากรรไกรให้สมดุล นำไปสู่การสบฟันที่ถูกต้อง ทำให้เด็กมีใบหน้าและการเรียงตัวของฟันที่สวย ซึ่งนำไปสู่ความมั่นใจ

 • ป้องกันความผิดปกติถาวรที่อาจต้องผ่าตัดเมื่อโต

 • ลดเวลาและความซับซ้อนของการจัดฟันในอนาคต


💎เครื่องมือจัดฟันในเด็ก (Orthodontic Appliances for Children)

🔹 1. เครื่องมือถอดได้ (Removable Appliances) ตัวอย่างเครื่องมือ

-เพลทขยายขากรรไกร (Expansion Plate)ใช้ขยายเพดานหรือขากรรไกรบนให้กว้างขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่ให้ฟันแท้

-เครื่องมือถอดได้จัดฟันเบื้องต้น

ขยับฟันบางซี่ให้เข้าที่ เหมาะกับปัญหาเล็กน้อย

-เครื่องมือกันนิสัย (Habit Breaker)

ป้องกันการดูดนิ้ว ดุนลิ้น หรือพฤติกรรมที่มีผลเสียต่อฟัน

-Bionator / Twin Block เป็นเครื่องมือกระตุ้น/ควบคุมการเจริญของขากรรไกร เช่น กรณีขากรรไกรล่างเล็กกว่า


-การจัดฟันใส แบบ Invisalign 


📝 ข้อดี: ถอดออกได้ สะดวกในการแปรงฟัน

📌 ข้อควรระวัง: เด็กต้องมีวินัยในการใส่ตามคือต้องใส่เครื่องมือตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ (เช่น 16–22 ชั่วโมงต่อวัน)

 • หากใส่ไม่สม่ำเสมอ อาจไม่ได้ผลหรือเสียเวลารักษา

 • เด็กบางคนอาจถอดบ่อยหรือทำหายส่งผลให้การรักษาล้มเหลว หรือไม่เป็นไปตามแผน


🔹 2. เครื่องมือติดแน่น (Fixed Appliances)ตัวอย่างเครื่องมือ

-เหล็กจัดฟัน (Braces)

ช่วยขยับฟันทุกซี่ให้เรียงตัวอย่างเหมาะสม

-เครื่องมือขยายขากรรไกรแบบติดแน่น (Fixed Expander)ใช้ขยายขากรรไกรในกรณีที่แคบมากหรือเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใส่เครื่ิงมือถอดได้

-อุปกรณ์ควบคุมการเจริญเติบโต (Functional Appliances)ช่วยกระตุ้นหรือควบคุมการเจริญของขากรรไกร เช่น กรณีขากรรไกรล่างยื่น

🔹 3. อุปกรณ์เสริม (Auxiliaries)

 • Headgear: เครื่องมือภายนอก ใช้ดึงฟันและควบคุมการเจริญเติบโตของขากรรไกร

 • รีเทนเนอร์ (Retainer): ใช้หลังถอดเครื่องมือจัดฟัน เพื่อคงสภาพฟันไม่ให้เคลื่อนกลับ

การจัดฟันแบบ 2 by 4 (2×4 appliance) เป็นการจัดฟันชนิดพิเศษที่นิยมใช้ใน เด็กอายุ 7–12 ปี ที่ยังมีฟันน้ำนมบางซี่อยู่ โดยเฉพาะในช่วง ฟันผสม (mixed dentition) ก่อนจะฟันแท้ขึ้นครบ


🦷 จัดฟันแบบ 2 by 4 คืออะไร?

 • เป็นการติดแบร็กเก็ต (brackets) จำนวน 4 ซี่ บนฟันหน้าบน

 • และติดวงแหวน (bands) หรือท่อโลหะไว้บนฟันกรามน้ำนมหลังสุด 2 ซี่ (บนหรือ/และล่าง)

 • รวมทั้งหมด 6 ซี่ (2 + 4 = 6) ซึ่งช่วยควบคุมการเคลื่อนฟันและทิศทางการสบฟัน

✅ ใช้เพื่ออะไร?

การจัดฟันแบบ 2x4 เหมาะกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น:

 1. ฟันหน้าขึ้นผิดตำแหน่ง (เช่น ฟันซี่กลางไขว้)

 2. ฟันหน้าซ้อนเก / บิดเอียง

 3. สบฟันหน้าแบบคร่อม (anterior crossbite)

 4. ช่วยเตรียมพื้นที่ให้ฟันแท้ขึ้นได้ถูกตำแหน่ง

 5. ควบคุมการเคลื่อนไหวฟันหน้าในเด็กเล็ก อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เพลทถอดได้


⏳ ระยะเวลาในการรักษา

 • ปกติใช้เวลา ไม่เกิน 6–12 เดือน

 • หลังจากนั้น อาจเปลี่ยนมาใช้เครื่องมือแบบอื่น เช่น รีเทนเนอร์ หรือรอจนฟันแท้ขึ้นครบเพื่อจัดฟันเต็มรูปแบบ

📌 ข้อดีของการจัดฟันแบบ 2x4

 • ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เร็ว โดยไม่ต้องรอจนฟันแท้ขึ้นครบ

 • มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เครื่องมือถอดได้ในบางกรณี

 • ควบคุมการเคลื่อนฟันได้แม่นยำ

📌 ข้อจำกัด

 • ใช้ได้เฉพาะในช่วงฟันผสม (ต้องมีฟันกรามน้ำนมและฟันหน้าถาวร)

 • ต้องดูแลความสะอาดฟันดี เพราะมีเครื่องมือติดแน่น


✅การจัดฟันใสในเด็ก (Clear aligners for children) เป็นทางเลือกในการจัดฟันที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กโตหรือวัยรุ่นตอนต้นที่ฟันแท้ขึ้นครบแล้วบางส่วน หรือใกล้ครบ ซึ่งมีข้อดีหลายอย่าง แต่ก็ต้องพิจารณาเงื่อนไขและข้อจำกัดเช่นกัน

✅ ข้อดีของการจัดฟันใสในเด็ก

 1. สวยงาม ไม่เห็นเหล็ก – ตัวเครื่องมือใสแทบมองไม่เห็นเมื่อใส่อยู่

 2. ถอดออกได้ – เด็กสามารถถอดขณะรับประทานอาหารหรือแปรงฟันได้

 3. ทำความสะอาดง่าย – ลดความเสี่ยงฟันผุและเหงือกอักเสบจากคราบอาหาร

 4. ไม่เจ็บมากเหมือนจัดเหล็ก – ไม่มีเหล็กหรือลวดที่อาจบาดกระพุ้งแก้ม

 5. ลดจำนวนครั้งที่ต้องไปพบหมอฟัน – หากวางแผนไว้ดี จะไม่ต้องปรับลวดบ่อย ๆ

⚠️ ข้อควรระวังและข้อจำกัด

 1. ต้องมีวินัยสูง – ต้องใส่เครื่องมืออย่างน้อยวันละ 20-22 ชั่วโมง ถอดเฉพาะตอนกินและแปรงฟัน

 2. ไม่เหมาะกับเด็กเล็กที่ยังมีฟันน้ำนมเยอะ – ส่วนมากเริ่มใช้ได้ในช่วงอายุ 7 ปีขึ้นไป ถ้าฟันแท้ขึ้นพอสมควรแล้ว

 3. ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการจัดฟันปกติ – อาจแพงกว่าแบบเหล็ก 2-3 เท่า

 4. บางกรณีซับซ้อนอาจใช้เหล็กดีกว่า – เช่น ฟันซ้อนมาก หรือขากรรไกรผิดรูป

👶 จัดฟันใสเหมาะกับเด็กแบบไหน?

 • เด็กที่มีฟันแท้ขึ้นแล้วหลายซี่

 • เด็กที่มีปัญหาฟันเก ห่าง หรือสบฟันไม่ดีในระดับปานกลาง

 • เด็กที่มีวินัยและสามารถดูแลตนเองได้ในระดับหนึ่ง

 • พ่อแม่สามารถช่วยดูแลให้เด็กใส่อุปกรณ์ได้ตามที่กำหนด


📌 ตัวอย่างแบรนด์จัดฟันใสที่ทำสำหรับเด็ก

 • Invisalign First – สำหรับเด็กอายุประมาณ 6-10 ปี

 • Invisalign Teen – สำหรับวัยรุ่น

 • แบรนด์อื่น ๆ อาจมีทางเลือกคล้ายกัน เช่น Spark, Zenyum (เฉพาะบางกรณี), และแบรนด์ท้องถิ่น

❤️โดยสรุป

✔️ ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์จัดฟันเมื่อใด?

สมาคมทันตแพทย์จัดฟันอเมริกัน (AAO) แนะนำให้พาเด็กไปตรวจกับทันตแพทย์จัดฟัน ตั้งแต่อายุประมาณ 7 ขวบ แม้ว่าจะยังไม่ต้องจัดฟันทันที แต่สามารถประเมินและวางแผนได้ตั้งแต่เนิ่น และการจัดฟันในเด็กไม่ได้เป็นแค่เรื่อง “ความสวยงาม” แต่เป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อสุขภาพช่องปาก การเจริญเติบโต และความมั่นใจของเด็ก

รีวิว

ติดต่อเรา

คลินิกทันตกรรมคิดส์เด้นท์

ใกล้บุญถาวร SCG นครศรีธรรมราช ปากทางร้านกาแฟ little black

เบอร์โทร

061-239-4569

ที่อยู่

107 หมู่ 4 ตำบล ท่าซัก เมือง นครศรีธรรมราช 80000

เวลาทำการ

จันทร์-ศุกร์ 17:00 - 20:00 น.
เสาร์-อาทิตย์ 9:00-18:00 น.